หน้าแรก

 

ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะธรณีสัณฐานในประเทศไทย

1 ภาคเหนือ ลักษณะภูมิประเทศมีความสัมพันธ์กับประชากรในภูมิภาค ดังนี้

1.1 เขตทิวเขาและหุบเขา
ภูเขาสูงที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ เป็นทิวเขาสลับซับซ้อนนั้น แต่ก่อนประกอบไปด้วยป่าไม้ สัตว์ป่านานาชนิดและมีสายน้ำเป็นลำธารไหลลงไปหล่อเลี้ยงแม่น้ำในบริเวณหุบเขาเป็นเสน่ห์ให้ผู้คนเข้าไปตั้งถิ่นฐาน
เพื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพยากร แล้วปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมดั้งเดิม ปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบัน คือ สภาพป่าไม้ลดจำนวนลงจนหมดสิ้นไปในบางพื้นที่

3

1.2 บริเวณที่ราบและแอ่ง

ภาคเหนือมีที่ราบหุบเขาแคบๆ ที่เกิดจากลำธรไหลกัดเซาะบริเวณภูเขา เป็นที่ราบผืนเล็กๆ
กระจายอยู่ทั่วไป และมีที่ราบซึ่งเกิดขึ้นในแอ่งแผ่นดิน มีการทับถมของโคลนตะกอนเป็นบริเวณกว้าง และมีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่านเช่นแอ่งเชียงใหม่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิงแอ่งแม่ฮ่องสอนตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปาย

4

2 ภาคตะวันตก ลักษณะภูมิประเทศมีความสัมพันธ์กับประชากรในภูมิภาคดังนี้

2.1 เขตทิวเขาและหุบเขา
มีทิวเขาทอดแนวมาจากภาคเหนือและเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นประเทศไทยกับสหภาพ พม่า ในบริเวณนี้จะมีการบุกรุกทำลายป่าไม้เพื่อนำพื้นที่มาใช้เพาะปลูกพืชไร่สวนผลไม้และสร้างเป็นที่พักบริการแก่นักท่องเที่ยว

5

2.2 บริเวณที่ราบและที่ราบเชิงเขาในภาคตะวันตกมีที่ราบแคบๆอยู่ระหว่างเขตภูเขามีการเข้าไปจับจองพื้นที่ทำนาและปลูกพืชจำนวนมาก เช่น อ้อย เป็นต้น

6

2.3 บริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล
ภาคตะวันตกมี่ที่ราบชายฝั่งทะเลยาวตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีซึ่งเป็นหาดเลน ต่อเนื่องไปยังบริเวณหาดชะอำซึ่งเป็นหาดทรายลงไปจนถึงจังหวัดประจวบ คีรีขันธ์ โดยประชาชนมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งทางด้านการประมงชายฝั่ง ปลูกพืช

7

3 ภาคกลาง ลักษณะภูมิประเทศมีความสัมพันธ์กับประชากรในภูมิภาค ดังนี้

3.1 บริเวณที่ราบลุ่มน้ำตอนบน
คือ บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเหนือจังหวัดนครสวรรค์ขึ้นไป มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มน้ำที่มีขนาดแคบลงเรื่อยๆ เมื่อขึ้นไปทางภาคเหนือ และมีระดับสูงกว่าที่ราบภาคกลางตอนล่าง สภาพพื้นที่จะใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกพืชไร่และทำนาข้าว

8

3.2 บริเวณที่ราบบริเวณขอบของภาค
คือ ที่ราบบริเวณขอบที่ติดต่อกับภาคเหนือภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพเป็นเนินและที่ราบเชิงเขา ใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่

9

3.3 บริเวณที่ราบลุ่มน้ำตอนล่าง
คือ บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ลงมา เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง สภาพพื้นที่จะใช้ประโยชน์ด้านการปลูกข้าว มีการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนขนาดใหญ่หลายพื้นที่ ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินให้เป็นพื้นที่เมือง และมีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่เคยเป็นนาข้าวเดิม

10

4 ภาคตะวันออก ลักษณะภูมิประเทศมีความสัมพันธ์กับประชากรในภูมิภาค ดังนี้

4.1 เขตเขาและทิวเขา
คือ ทิวเขาสันกำแพงและพนมดงรัก บริเวณขอบของภาคที่ติดต่อกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ประโยชน์จากพื้นที่เป็นสวนผลไม้และปลูกพืชไร่ ในพื้นที่บริเวณลำธารต้นน้ำใช้ทำกิจกรรมการท่องเที่ยวและจัดเป็นสถานที่พัก นักท่องเที่ยว

11

4.2 เขตพื้นที่เนินแบบลูกฟูก
อยู่ตอนในของภาคตะวันออก ใช้พื้นที่เป็นที่ปลูกพืชไร่และพืชสวน

12

4.3 ที่ราบชายฝั่งทะเล
เป็นสถานที่ตากอากาศ และแหล่งท่องเที่ยวทั้งบริเวณเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี และจังหวัด จันทบุรี

13

4.4 เกาะและหมู่เกาะชายฝั่ง
เป็นเกาะใกล้ชายฝั่งที่มีปะการังสวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่ใกล้และสวยงามจึงเป็นที่นิยมของผู้คนทั้งไทย และต่างชาติ จนมีแนวโน้มจะทำให้แหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามเสื่อมโทรมไป

14

5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะภูมิประเทศมีความสัมพันธ์กับประชากรในภูมิภาคดังนี้

5.1 เขตทิวเขาด้านทิศตะวันตก
เป็นบริเวณที่มีภูเขายกตัวขึ้นแยกจากที่ราบภาคกลาง โดยธรณีสัณฐานหลักเป็นภูเขาหินทรายที่มียอดราบ เช่น ภูกระดึง

15

5.2 ทิวเขาด้านทิศใต้
เป็น แนวทิวเขาหินทรายที่มีด้านลาดอยู่ในประเทศไทยและมีด้านชันไปในกัมพูชาทางทิศ ใต้ ภูมิสัณฐานหลักเป็น “เขารูปอีโต้หรือเกวสตา” คล้ายกับ”เขาอีโต้” ที่จังหวัดปราจีนบุรี สภาพของเขาที่ทอดแนวตลอดจะมีช่องแคบที่สามารถเดินทางระหว่างประเทศได้

16

6 ภาคใต้ ลักษณะภูมิประเทศมีความสัมพันธ์กับประชากรในภูมิภาค ดังนี้

6.1 คาบสมุทร
ลักษณะธรณีสัณฐานคาบสมุทรมีทะเลอันดามันอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ส่วนอ่าวไทยจะอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ภายในแผ่นดินมีทิวเขาเป็นแกนของคาบสมุทร มีที่ราบ เนิน และที่ราบลุ่มแม่น้ำซึ่งใช้ปลูกข้าว ส่วนบริเวณเนินเป็นพื้นที่ปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง มังคุด พืชสวน เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ เป็นต้น

17

6.2 บริเวณที่ราบลุ่มน้ำ
ภาคใต้แม้จะมีแม่น้ำสายสั้นๆ แต่นับว่ามีความสำคัญมากทั้งในด้านการบริโภค การใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง การตั้งถิ่นฐาน การท่องเที่ยว และเป็นแหล่งอาหาร นอกจากนี้แม่น้ำสายต่างๆ ที่ไหออกสู่ทะเลจะนำดินตะกอนออกไปสู่ปากน้ำ พื้นที่เชื่อมต่อระหว่างปากแม่น้ำกับชายฝั่งทะเลจึงมีสภาพเป็นชายเลน มีป่าชายเลนเป็นแนวกำบังลม และเป็นแหล่งอนุบาลลูกกุ้ง หอย ปู ปลา

18

6.3 เกาะและหมู่เกาะ
ภาคใต้มีเกาะและหมู่เกาะขนาดเล็กใหญ่เป็นจำนวนมาก มีภูมิทัศน์และหาดทรายที่สวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินิยมไปพักผ่อน เช่น เกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะพะงัน หมู่เกาะอ่างทอง หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะพังงา หมู่เกาะสิมิลัน เป็นต้น

19

Free Web Hosting