หน้าแรก

 

ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะอุทกภาคในประเทศไทย

1 ปรากฏการณ์จากอุทกภาคในประเทศไทย ที่สำคัญ มีดังนี้

1.1 ฝนตกหนัก หรือฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีสาเหตุ จาก

1 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
ลมมรสุมเริ่มพัดเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม และมีกำลังแรงเป็นระยะๆ หลังจากเดือนกรกฎาคมไปแล้ว เนื่องจากลมมรสุมนี้พัดผ่านแหล่งน้ำขนดใหญ่ คือ ทะเลอันดามันและอ่าวไทยเข้าสู่แผ่นดิน จึงนำความชื้นเข้าไปยังแผ่นดิน และหากลมมรสุมมีกำลังแรงจะทำให้เกิดฝนตกหนักในทุกภาค โดนเฉพาะจังหวัดตามชายฝั่งทะเลที่มีภูเขาหันเข้ารับลมที่พัดนำความชุ่มชื้น และฝนมาตก หรือที่เรียกว่า “ด้านต้นลม” (windward)

2 ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

ลมมรสุมเริ่มพัดเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม โดยเป็นลมที่พัดมาจากไซบีเรียและประเทศจีน ลักษณะทั่วไปจะทำให้ทั่วทุกภูมิภาคมีอากาศหนาวเย็นและแห้ง แต่เมื่อมีกำลังแรงขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนและพัดผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาใต้ ฝั่งอ่าวไทย จะทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกหรือฝั่งอ่าวไทยมีฝนตกหนักมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวัน ตกหรือฝั่งอันดามัน ซึ่งในบริเวณนี้เป็นด้านปลายลม (leeward) ของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

3 พายุหมุนเขตร้อน
ระยะ ที่พายุหมุนมีอิทธิพลต่อปริมาณน้ำฝนในประเทศไทยมี 2 ระยะ คือ ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม จะมีพายุหมุนก่อตัวขึ้นในอ่าวเบงกอล เรียกว่า “ไซโคลน” แล้วเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศบังกาลาเทศและสหภาพพม่า ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบ

1.2 น้ำหลากจากภูเขา
บริเวณเชิงเขาและที่ราบเชิงเขาที่มีชุมชนตั้งอยู่ จะได้รับกระแสน้ำที่หลากไหลจากภูเขาสูงลงมาอย่างวดเร็ว เนื่องจากการตัดไม้ในบริเวณต้นน้ำลำธาร การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เพาะปลูกและฝนที่ตกอย่างหนักต่อเนื่อง ยาวนานจนลำห้วยไม่สามารถรับปริมาณน้ำได้

20

1.3 น้ำทะเลหนุน

บริเวณที่ราบใกล้ปากแม่น้ำ เมื่อแม่น้ำไหลออกทะเลจะเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลหนุนทำให้เกิดน้ำท่วมได้ เช่น พื้นที่เขตพระโขนง เขตบางนาของกรุงเทพมหานคร และตำบลสำโรง อำเภอพระระแดง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยวันที่มีปรากฏการณ์น้ำเกิดขึ้นนั้นระดับน้ำทะเลจึงขึ้นสูงที่สุด น้ำทะเลจะหนุนทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำสูงขึ้นไหลช้าลงจนเกิดภาวะน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดในพื้นที่ที่มีระดับการทรุดต่ำลงของแผ่นดินก็จะ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำได้

21

2 ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับแหล่งน้ำในประเทศไทย แหล่งน้ำในประเทศไทยมีทั้งแหล่งน้ำเค็ม และแหล่งน้ำจืด ที่สำคัญ

2.1 แหล่งน้ำเค็ม ประเทศไทยมีอาณาเขตที่ติดต่อกับทะเลและมหาสมุทรอยู่ 2 แห่ง ประกอบด้วย

22

1 อ่าวไทย
เป็นส่วนหนึ่งของทะเลจีนใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิก ดินแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับแหล่งน้ำเค็มส่วนนี้ คือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ปฏิสัมพันธ์ของประชาชนกับพื้นที่อ่าวไทย

2 ทะเลอันดามัน
เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย โดยมีดินแดนภาคใต้ฝั่งตะวันตกเท่านั้นที่มีอาณาเขตติดต่อ ใช้ประโยชน์ในด้านการประมงและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ มีท่าเรือสำคัญ เช่น ท่าเรือสงขลา ท่าเรือกระบี่  

2.2 แหล่งน้ำจืด ประเทศไทยมีพื้นที่แหล่งน้ำจืดทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน ดังนี้

1 น้ำผิวดิน
แหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญอยู่บริเวณลุ่มน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ โดยพื้นที่ลุ่มน้ำหลักของประเทศที่สำคัญ เช่น แม่น้ำโขง ชี มูล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ในภาคเหนือ แม่น้ำตาปี แม่น้ำปัตตานี ในภาคใต้ เป็นต้น

23

2 น้ำใต้ดินและน้ำบาดาล

ภูมิภาคที่นำน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลมาใช้มากได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีแหล่งน้ำจืดบนพื้นที่ลุ่มหลายบริเวณ แต่แหล่งน้ำใต้ดินหลายแห่งมีคุณภาพน้ำต่ำ รองลงไปคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันตกตามลำดับ โดยในภาคตะวันออกและภาคใต้มีแหล่งน้ำใต้ดินน้อย

24

3.3 ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะชีวภาคในประเทศไทย

1 ความหลากหลายของชนิดพรรณพืชในประเทศไทย
ป่าไม้ที่เกิดขึ้นตมธรรมชาติ จำแนกตามลักษณะวงจรชีวิตได้ 2 ประเภท คือ ป่าไม่ผลัดใบ และป่าผลัดใบ ดังนี้

1.1 ป่าไม้ผลัดใบ
เป็นป่าที่มีเรือนยอดเขียวชอุ่มตลอดทั้งปี เนื่องจากมีฝนตกไม่ต่ำกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี และมีช่วงแล้งฝนน้อยกว่า 3 เดือน ป่าไม่ผลัดใบกระจายอยู่ทั้งในบริเวณหุบเขาที่มีความชื่นสูงและริมฝั่งทะเล ตามภูมิภาคต่างๆ จำแนกได้ 6 ชนิดดังนี้

1 ป่าดิบชื้น
พบในภาคใต้และภาคตะวันออกในพื้นที่ซึ่งมีความสูงจากระดับทะเลปานกลางจนถึง 1,000 เมตร มีภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน ซึ่งมีฝนตกเกือบตลอดทั้งปี และมีปริมาณมากว่า 2,500 มิลลิเมตรต่อปี มีช่วงเวลาความแห้งแล้งสั้นมาก คือ ไม่เกิน 2 เดือน อากาศมีความชื้นสูงตลอดทั้งปี พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น ยางขาว ยางแดง ตะเคียน มะเดื่อ หมาก หวาย เฟิน เป็นต้น

25

2 ป่าดิบแล้ง

พบตามภูมิภาคต่างๆ ในพื้นที่ซึ่งมีความสูงจากระดับทะเลปานกลางจนถึง 700 เมตร มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,500-2,000 มิลลิเมตรต่อปี ระยะความแห้งแล้ง 2-3 เดือน พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น ยางชนิดต่างๆ ตะเคียน มะค่า ไผ่ หวาย กระวาน เป็นต้น

26

3 ป่าดิบเขา

พบในพื้นที่ภูเขาที่มีความสูงตั้งแต่ 1,000 เมตร มีความชื้นสูงตลอดปีจากไอน้ำและฝน มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี พันธุ์ไม้สำคัญ เช่น ก่อชนิดต่างๆ มะขามป้อมดง สนใบเล็ก พญาไม้ สนแผง เป็นต้น โดยตามลำต้นของต้นไม้จะมีพืชเกาะอาศัยอยู่ เช่น เฟิน มอสส์ เป็นต้น

27

4 ป่าสน

พบในบางพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกและภาคกลางตอนบน พบในพื้นที่ความสูงตั้งแต่ 200-1,600 เมตร พื้นดินเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี เช่น ดินทราย พันธุ์ไม้สำคัญ เช่น สนสองใบ สนสามใบ และไม้ที่ขึ้นปะปนอยู่ เช่น เหียง พลวง กำยาน ก่อต่างๆ สารภีดอย เป็นต้น

28

5 ป่าพรุ

ป่าไม้ที่เกิดในพื้นที่ลุ่มต่ำมีน้ำท่วมขังชั่วคราว พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ ชุมแสง กก กันเกรา ปรงทะเล เสม็ด ลำพู ประสัก เหงือกปลาหมอ โกงกาง และจาก

29

6 ป่าชายหาด

พบบริเวณชายฝั่งทะเลและสันทรายชายฝั่งทะเล พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ เตยทะเล จิกทะเล และผักบุ้งทะเล

30

1.2 ป่าผลัดใบ
เป็นป่าที่ต้นไม้มีการทิ้งใบเป็นระยะเวลายาวนานในช่วงฤดูแล้ง พบในพื้นที่ที่มีช่วงแล้งฝนมากกว่า 5 เดือน โดยป่าผลัดใบกระจายอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก ป่าผลัดใบมี 3 ชนิด ได้แก่

1 ป่าเบญจพรรณ
พบในพื้นที่ซึ่งมีความสูงจากระดับทะเลปานกลางจนถึง1,000 เมตร และมีฝนตกปริมาณเฉลี่ย 1,000-1,500 มิลลิเมตรต่อปี พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ สัก ยาง แดง ประดู่ มะค่าโมง งิ้วป่า พืชชั้นล่าง ได้แก่ ไผ่ และรวก

31

2 ป่าเต็งรัง

หรือเรียกว่า ป่าแดง ป่าโคก ป่าแพะ เป็นป่าที่ขึ้นได้ในพื้นที่ดินลูกรังสีแดง อยู่สูงจากระดับทะเลปานกลางไม่เกิน 1,000 เมตร พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ พลวง เต็ง รัง พะยอม รกฟ้า กระบก มะขามป้อม ส่วนพืชชั้นล่าง ได้แก่ ปรง และหญ้าเพ็ก

32

3 ป่าหญ้าหรือป่าละเมาะ
เป็นป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติภายหลังจากป่าดั้งเดิมถูกทำลายหมด พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ กระโถน สีเสียด หญ้าคา หญ้าพง และแฝก

33

2 ความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์ในประเทศไทย
ในประเทศไทยพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 283 ชนิด

สรุป
ระบบของธรรมชาติบนพื้นผิวโลกที่ประกอบไปด้วยบรรยากาศ ธรณีภาค อุทกภาค และชีวภาค ล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะการปรับหรือมีพลวัตเพื่อความสมดุลเชิง ระบบ นิเวศวิทยา ดังนั้น มนุษย์จึงควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ เพื่อการปรับตัวหรือาศัยอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติด้วยการพึ่งพาซึ่งกันและกัน มากกว่าการตักตวงผลประโยชน์จากธรรมชาติแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่มีการฟื้นฟูสภาพธรรมชาติที่เสียหายไปให้กลับดีดังเดิม อันจะส่งผลเสียต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เอง

Free Web Hosting